วันจันทร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2553

แบบทดสอบ เรื่อง อิเล็กโทรไลต์

1เปรียบเทียบ เซลล์กัลวานิก และ เซลล์อิเล็กโทรไลต์ โดยพิจารณาข้อสรุปต่อไปนี้
ก. ไอออนบวกจะเคลื่อนที่เข้าหาขั้วลบ และไอออนลบจะวิ่งเข้าหาขั้วบวกเสมอในเซลล์ทั้งสองชนิด

ข. ในเซลล์กัลวานิก ไอออนบวกจะวิ่งไปที่แอโนด และไอออนลบจะวิ่งไปที่แคโทด
    ในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ ไอออนบวกและลบจะวิ่งไปที่แคโทดและแอโนด ตามลำดับ
ค. ในเซลล์กัลวานิก ขั้วของแอโนดและแคโทดจะเป็นขั้วลบ และบวกตามลำดับส่วนใน
     เซลล์อิเล็กโทรไลต์ แอโนด คือขั้วบวก และแคโทดคือขั้วลบ
ง. อิเล็กตรอนไหลจาก แอโนดไปแคโทด เมื่อต่อสายภายนอกของเซลล์กัลวานิก ส่วนใน
      เซลล์อิเล็กโทรไลต์ อิเล็กตรอนมาจากแบตเตอรี่เข้าสู่ขั้วแอโนด
ข้อใดสรุปถูก
1. ค เท่านั้น
2. ข, ง เท่านั้น
3. ก, ง เท่านั้น
4. ก, ค, ง เท่านั้น

เฉลยคำตอบ
ตัวเลือกที่ 1
เพราะเซลล์กัลป์วานิก แอโนด เป็นขั้วลบแคโทด เป็นขั้วบวก
เซลล์อิเล้กโทรไลต์ แอโนด เป็นขั้วบวก แคโทด เป็นขั้วลบ
ข้อ ง เป็นข้อความที่ผิดเพราะ ในเซลล์อิเล็กโทรไลต์อิเล็กตรอนมาจากแบตเตอรี่จะต้องเข้าสู่ขั้วแคโทด แอโนดจะต้องเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (ให้อิเล็กตรอน) เสมอ และแคโทดจะต้องเกิดปฏิกิริยารีดักชัน (รับอิเล็กตรอน) ตัวเลือกข้อ 2, 3 และ 4 มีข้อ ง. จึงผิด



2เซลล์ถ่านไฟฉายมีอิเล็กโทรไลต์เป็น มีแท่งแกรไฟต์เป็นแคโทด ปฏิกิริยาที่ขั้วลบ เป็นดังข้อใด








เฉลยคำตอบ
ตัวเลือกที่ 3
เพราะขั้วลบของถ่ายไฟฉายเป็นแอโนด เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (ให้อิเล็กตรอน) และขั้วลบของเซลล์ถ่านไฟฉายทำด้วยสังกะสี (Zn) ดังนั้นปฏิกิริยาที่ขั้วลบคือ





3เมื่อจุ่มแท่งโลหะลงในสารละลายของดลหะไอออนต่างๆ กัน ได้ผลดังตาราง

จากข้อมูล ลำดับความสามารถในการรับอิเล็กตรอนจากมากไปน้อยคือข้อใด









เฉลยคำตอบ
ตัวเลือกที่ 4
เพราะผลจากการทดลองเขียนแผนภาพเซลล์ได้ดังนี้


ฺ• ฺ ลำดับความสามารถในการรับอิเล็กตรอน
[tex]Ag^+ > Cu^{2+} > Fe^{2+} > Zn^{2+}[tex
 
 
 
4การป้องกันการผุกร่อนของตะปูเหล็กข้อใดไม่ถูกต้อง

1. นำตะปูต่อเข้ากับขั้วบวกของไฟฉาย
2. นำตะปูไปทำอะโนไดซ์
3. นำตะปูไปทำแคโทดิก
4. นำตะปูไปทำร่มดำ

เฉลยคำตอบ
ตัวเลือกที่ 1
เพราะขั้วของถ่ายไฟฉายคือแคโทด จะเกิดปฏิกิริยารีดักชั้นรับอิเล็กตรอนดี เมื่อนำตะปูเหล็กมาต่อ จะทำให้ตะปูเหล็กเสียอิเล็กตรอนได้ง่ายขึ้น ทำให้ผุกร่อนเร็วขึ้น จึงป้องกันการผุกร่อนของตะปูเหล็กไม่ได้
 
 
 
5พิจารณาการทดลองและผลต่อไปนี้



จากข้อมูลข้างต้น ข้อใดถูกต้อง
1. ทองแดงเป็นตัวรีดิวซ์ที่ดีที่สุด
2. เป็นตัวรีดิวซ์ที่ดีกว่าสังกะสี
3. เหล็กเป็นตัวรีดิวซ์ที่ดีกว่าสังกะสี
4. เป็นตัวออกซิไดซ์ที่ดีที่สุด

เฉลยคำตอบ
ตัวเลือกที่ 4
จากผลการทดลองเขียนแผนภาพได้ดังนี้

ดังนั้นตัวรีดิวซ์ : Zn > Fe > Cu > Ag
ตัวออกซิไดซ์ :





6ผลการสังเกตในข้อใดถูก
ก. จุ่มเหรียญเงินในสารละลาย เงินจะสึกกร่อนออกมา
ข. จุ่มเหรียญสังกะสีในสารละลาย สังกะสีจะสึกกร่อนออกมา
ค. จุ่มเหรียญทองแดงในสารละลาย ทองแดงจะสึกกร่อนออกมา
ง. จุ่มเหรียญตะกั่วในสารละลาย ตะกั่วจะสึกกร่อนออกมา
1. ก และ ข
2. ก และ ค
3. ข และ ค
4. ข และ ง

เฉลยคำตอบ
ตัวเลือกที่ 4
เพราะจะเกิดการสึกกร่อนได้ โลหะที่จุ่มลงในสารละลายจะต้องมีค่า น้อย , ไอออนของโลหะในสารละลายจะต้องมี มาก ตามตัวเลือกข้อ ข และ ง
 
 
 
7จากค่า ของปฏิกิริยาที่กำหนดให้
=-2.9 V
=-0.8 V
=+0.5 V
=+1.2 V
ในการสร้างเซลล์อิเล็กโทรไลต์ดังรูปเพื่อแยกสารละลาย XY ข้อใดสรุปผิด
1. เกิด OH- ที่ขั้วแคโทด
2. เกิดก๊าซไฮโดรเจนที่ขั้วแคโทด
3. เกิดก๊าซออกซิเจนที่ขั้วแอโนด
4. เกิดก๊าซ ที่ขั้วแอโนด

เฉลยคำตอบ
ตัวเลือกที่ 3
ปฏิกิริยาที่แอโนด (+) และที่แคโทด (-) เป็นดังนี้
ดังนั้น จะไม่เกิดก๊าซออกซิเจนที่ขั้วแอโนด




8ในการแยกสารละลายในน้ำของ ด้วยไฟฟ้า ปฏิกิริยาครึ่งเซลล์ที่เกี่ยวข้องคือ
= -0.40 V
= +1.30 V

= -0.83 V
=+1.23 V
เมื่อพิจารณาข้อสรุปต่อไปนี้
ก. ปฏิกิริยา III มีศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าปฏิกิริยา I ที่แคโทดจึงเกิดก๊าซไฮโดรเจน
ข. ถูกรีดิวซ์ได้ง่ายกว่า จึงเกิด Cd(s) ที่แคโทด
ค. ปฏิกิริยา IV มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่าปฏิกิริยา II จึงเกิดก๊าซออกซิเจนที่แอโนด
ง. ถูกออกซิไดซ์ได้ง่ายกว่าน้ำ จึงเกิดก๊าซคลอรีนที่แอโนด

ข้อใดสรุปถูก
1. ก. และ ค.
2. ข. และ ง.
3. ข. และ ค.
4. ก. และ ง.

เฉลยคำตอบ
ตัวเลือกที่ 3
ปฏิกิริยาที่แอโนดและแคโทดเป็นดังนี้







ดังนั้น จะเกิดก๊าซออกซิเจนที่แอโนดและเกิดโลหะ Cd ที่แคโทด
ข้อ ข และ ค จึงถูกต้อง




9การป้องกันการผุกร่อนของอุโมงค์ หรือท่อเหล็กใต้ดิน กระทำได้โดยการต่อท่อเหล็ก (A) เข้ากับสารชนิดอื่น (B) ดังรูป

ข้อความใดต่อไปนี้ผิด

1. โลหะ A เป็นตัวรีดิวซ์ที่ยากกว่า B
2. เมื่อเวลาผ่านไปมวลของ B อาจลดลง
3. A ทำหน้าที่เป็นขั้วลบ เกิดปฏิกิริยารีดักชัน
4. B ให้อิเล็กตรอนได้ง่ายกว่า A , B จึงทำหน้าที่เป็นแอโนด

เฉลยคำตอบ
ตัวเลือกที่ 3
จากหลักการป้องกันการผุกร่อน B จะต้องให้อิเล็กตรอนได้ดีกว่า

ซึ่ง B จะต้อง - มีค่า น้อยกว่า A
-ให้อิเล็กตรอนได้ง่ายกว่า A
-เป็นตัวรีดิวซ์ที่ดีกว่า A
-เป็นแอโนด
เมื่อเวลาผ่านไป B จะผุกร่อนแทน A มวลของ B จะลดลง ดังนั้นข้อ 1, 2, 4 จึงถูกต้อง
ฺ• ฺ ข้อ 3 จึงเป็นข้อความที่ผิด เพราะ A เป็น Fe ไอออนของ A ถึงจะเกิดปฏิกิริยารีดักชัน



10จากข้อมูลที่กำหนดให้

ควรเลือกโลหะชนิดใดต่อกับท่อเหล็กเพื่อลดการสึกกร่อนของท่อเหล็กโดยใช้ต้นทุนน้อยที่สุด


1. เงิน
2. สังกะสี
3. นิกเกิล
4. โครเมียม

เฉลยคำตอบ
ตัวเลือกที่ 4
พิจารณาจากค่า เป็นดังนี้
โลหะที่มีค่า ต่ำกว่าเหล็กมาต่อ จะช่วยลดการสึกกร่อนของเหล็กได้ และโลหะที่มีค่า ต่ำกว่าค่า ของเหล็ก (- 0.41 V) คือ โครเมียม และสังกะสี ส่วนโลหะเงินและนิกเกิลมี มากกว่าเหล็ก เมื่อนำมาต่อกับท่อเหล็กจะทำให้ท่อเหล็กสึกกร่อนเร็วขึ้น เนื่องจากทำให้ท่อเหล็กเป็นแอโนด

พิจารณาเลือกระหว่างโครเมียมกับสังกะสี โดยดูที่ค่าใช้จ่ายต่อ 1 เดือน ดังนี้
- ถ้าใช้โครเมียมจะเสียค่าใช้จ่าย = 4.2 x 20 = 84 บาทต่อเดือน
- ถ้าใช้สังกะสีจะเสียค่าใช้จ่าย = 12.5 x 100 = 125 บาทต่อเดือน
ดังนั้นจึงควรเลือกโลหะโครเมียมต่อกับท่อเหล็ก เพราะใช้ต้นทุนน้อยที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

แบบฝึกหัดวิชาเคมี เรื่องธาตุและสารประกอบ

1แร่รัตนชาติใดมีความแข็งมากที่สุด
1. มรกต
2. โกเมน
3. ไพลิน
4. เพทาย

เฉลยคำตอบ
ตัวเลือกที่ 3
เพราะไพลินเป็นพลอยประเภทคอรันดัม ซึ่งมีความแข็งเป็นอันดับ 2 รองจากเพชร

คำชี้แจง ข้อมูลต่อไปนี้ใช้ประกอบการตอบคำถาม ข้อ 2 – 3
การผลิตโซดาไฟ ในทางอุตสาหกรรม นิยมใช้วิธีแยกสารละลายโซเดียมคลอไรด์ด้วยกระแสไฟฟ้าโดยใช้ปรอท
เป็นแคโทดของเซลล์อิเล็กโทรไลต์ ซึ่งเขียนรูปแสดงส่วนประกอบที่ สำคัญได้ดังนี้



2ต่อไปนี้เป็นเหตุผลของการเลือกใช้ปรอท (ซึ่งเป็นสารที่มีพิษมาก)เป็นอิเล็กโทรดของเซลล์อิเล็กโทรไลต์ในการเตรียมโซดาไฟ (NaOH) ทั้งสิ้น ยกเว้น
1. ปรอทช่วยป้องกันมิให้แก๊สคลอรีนที่เกิดขึ้น ทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
2. ปรอทสามารถรวมกับผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นที่แคโทดได้สารละลายอะมัลกัม
3. ปรอทช่วยให้สามารถแยกเอาผลิตภัณฑ์บางชนิดออกจากเซลล์อิเล็กโทรไลต์ได้
4. ปรอทช่วยเร่งให้เกิดปฏิกิริยาได้ โซดาไฟเร็วยิ่งขึ้น

เฉลยคำตอบ
ตัวเลือกที่ 4
เพราะปรอทไม่ได้ช่วยเร่งให้เกิดปฏิกิริยาได้ NaOH เร็วขึ้น แต่ปรอทรวมกับโซเดียมอะมัลกัม เมื่อนำโซเดียมอะมัลกัมไปทำปฏิกิริยากับน้ำ จะได้แก๊สไฮโดรเจนและสารละลาย NaOH ดังนั้นปรอทจึงเป็นตัวยับยั้งให้โลหะโซเดียมทำปฏิกิริยากับน้ำช้าลง


3สมมติว่าในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ที่ใช้ผลิตโซดาไฟนี้ใช้แพลทินัม (Pt) เป็นแคโทดแทนปรอท ผลที่เกิดขึ้นควรเป็นอย่างไร
1. ปฏิกิริยาแยกสลายจะไม่เกิดขึ้น
2. จะไม่ได้โซดาไฟเป็นผลิตภัณฑ์ แต่ยังคงมีปฏิกิริยาแยกสลายเกิดขึ้น
3. ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นที่แคโทดจะทำปฏิกิริยากับน้ำภายในเซลล์ทันที
4. จะไม่มีแก๊สคลอรีนเกิดขึ้น แต่จะได้แก๊สออกซิเจนแทน

เฉลยคำตอบ
ตัวเลือกที่ 3
เพราะ Pt เป็นอิเล็กโทรดเฉื่อย เมื่อ ไปรับอิเล็กตรอนที่ขั้วแคโทดกลายเป็นโลหะ Na โลหะ Na จะทำปฏิกิริยากับน้ำภายในเซลล์ทันที เพราะไม่มีสารใดไปควบคุมปฏิกิริยาหรือรวมตัวกับโลหะ Na ที่เกิดขึ้น



4เกลือ NaCl ที่มีเกลือแมกนีเซียมปนอยู่มากเป็นมลพิษ จะมีคุณภาพต่ำและราคาตกเพราะเหตุใด
1. แมกนีเซียมไอออนดูดน้ำได้ง่ายเกิดเป็น ทำให้เกลือชื้น
2. ทำให้เกลือมีสีคล้ำ และมีผลึกขนาดใหญ่
3. แมกนีเซียมซัลเฟตดูดน้ำได้ง่ายเกิดเป็น ทำให้เกลือชื้น
4. แมกนีเซียมไอออนเป็นคะตะไลต์ให้ ดูดน้ำเกิดเป็น ได้ง่ายขึ้น

เฉลยคำตอบ
ตัวเลือกที่ 3
ในเกลือที่มีแมกนีเซียมซัลเฟตปนอยู่นั้น แมกนีเซียมซัลเฟตจะสามารถดูดน้ำเข้าไปในผลึกเกลือได้ ดังสมการต่อไปนี้


5จัดเครื่องมือการแยกสารละลาย ด้วย กระแสไฟฟ้า ดังรูป เมื่อปล่อยให้กระแสไฟฟ้าผ่าน ข้อใดต่อไปนี้ถูกต้องที่สุด
1. บนแท่งคาร์บอนจะเกิดปฏิกิริยา
2. บนแท่งคาร์บอนจะเกิดปฏิกิริยา
3. บนผิวปรอทจะเกิดปฏิกิริยา
4. บนผิวปรอทจะเกิดปฏิกิริยา

เฉลยคำตอบ

ตัวเลือกที่ 1
เพราะแท่งคาร์บอนเป็นขั้วแคโทด (ขั้วลบ) ซึ่งเป็นไอออนบวกจึงไปรับอิเล็กตรอน (เกิดรีดักชัน) กลายเป็น Na และ Na จะทำปฏิกิริยากับน้ำเกิดเป็น , และ


6ข้อใดไม่ใช่อุตสาหกรรมเซรามิกส์
1. อุตสาหกรรมเครื่องสุขภัณฑ์
2. อุตสาหกรรมซีเมนต์
3. อุตสาหกรรมแก้ว
4. ไม่มีข้อถูก

เฉลยคำตอบ
ตัวเลือกที่ 4
เพราะเซรามิกส์ หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากดิน โดยมีวัตถุดิบดังนี้
ดินขาว , ดินเหนียว , เฟลด์สปาร์ , ควอตซ์ , ทัลด์ , หินปูน ,
ดังนั้นทุกข้อล้วนเป็นอุตสาหกรรมเซรามิกส์ทั้งสิ้น


7การถลุงแร่ในข้อใดที่มีลำดับขั้นตอนการถลุงดังนี้

ก. ย่างแร่
ข. รีดิวซ์แร่ที่ย่างด้วย CO ในเตาถลุง
ค. โซเดียมคาร์บอเนตรวมตัวกับสารปนเปื้อนต่าง ๆ ในเตาถลุง กลายเป็นกากตะกอนลอยอยู่บน ผิวโลหะเหลว
ง. ไขโลหะเหลวออกจากเตาลงเบ้าเหล็กเพื่อหล่อเป็นแท่ง
1. แร่ฟาเลอไรด์
2. แร่แคสซิเทอไรต์
3. แร่สติบไนต์
4. แร่เซอร์คอน

เฉลยคำตอบ

ตัวเลือกที่ 3
เพราะการถลุงแร่สติบไนต์ ก่อนการถลุงต้องทำให้สารประกอบซัลไฟต์กลายเป็นสารประกอบออกไซต์ก่อน ซึ่งเรียกว่า การย่างแร่ โดยการเผาแร่สตอบไนต์ในแก๊ส ดังนี้
จากนั้นรีดิวซ์ ด้วย CO ได้พลวง (Sb) ดังนี้
การถลุงมีการเติม ลงไปเพื่อให้รวมตัวกับสารปนเปื้อนต่าง ๆ ให้กลายเป็นกากตะกอนลอยอยู่บนพลวงเหลว จากนั้นไขพลวงออกจากเตาลงเบ้าเหล็กเพื่อหล่อเป็นแท่งต่อไป ซึ่งลำดับขั้นตรงตามที่กำหนดจึงตอบข้อ 3



8อุตสาหกรรมในข้อใดไม่ได้ก่อให้เกิดมลพิษหรือผลกระทบตามที่ระบุ
1. อุตสาหกรรมการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์มีการแพร่กระจายของดินเค็ม
2. อุตสาหกรรมการผลิตสังกะสีมีกากแร่ที่มีแคดเมียม
3. อุตสาหกรรมการผลิตแทนทาลัมจะเหลือกากที่เป็นสารกัมมันตรังสี
4. อุตสาหกรรมผลิตเซรามิกส์มีสารปรอทรั่วไหลลงสู่แหล่งน้ำ

เฉลยคำตอบ

ตัวเลือกที่ 4
เพราะอุตสาหกรรมเซรามิกส์ไม่ได้ใช้สารปรอท แต่มีสารประกอบตะกั่วเป็นส่วนผสมในน้ำยาเคลือบ ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะมลพิษได้
ข้อ 1. ถูกต้อง เพราะการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ ใช้สารละลาย NaCl เป็นวัตถุดิบ
ข้อ 2. ถูกต้อง เพราะในการถลุงสังกะสี สังกะสีที่ได้ไม่บริสุทธิ์ มักมีแคดเมียมปนอยู่ด้วย
ข้อ 3. ถูกต้อง เพราะอุตสาหกรรมผลิตแทนทาลัมเหลือกากที่เป็นสารกัมมันตรังสีปนอยู่ด้วย


9จงเลือกข้อที่เมื่อเติมลงในช่องว่างจะได้ตารางข้อมูลที่ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุด
1. 1

2. 2
3. 3
4. 4

เฉลยคำตอบ

ตัวเลือกที่ 1
- แร่สติบไนต์ คือ แร่พลวง
- สังกะสีพบอยู่ในรูปของแร่สฟาเลอไรต์ (ZnS) , แร่สมิทซอไนต์ , แร่ซิงไคต์ (ZnO) , แร่แฮมิมอไฟต์ เป็นต้น
- และธาตุเซอร์โคเนียมใช้ทำเซรามิกส์ทนไฟ ซึ่งทนความร้อนได้ถึง 2400
ข้อ 4 ผิด เพราะตะกรันดีบุกไม่ใช่ชื่อแร่
ฉะนั้น ก คือ สติบไนต์ , ข คือ สังกะสี , ค คือ สฟาเลอไรต์ , ง คือ เซรามิกส์ทนไฟ



10ข้อใดอาจช่วยลดจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนังได้
1. ลดปริมาณฟอตเฟสในผงซักฟอก
2. ลดปริมาณตะกั่วในน้ำมันเบนซิน
3. ลดจุดเดือดของน้ำมันดีเซล
4. ลดการใช้สารฟลูออโรคาร์บอนในการเป็นสารขับดันในกระป๋องสเปรย์

เฉลยคำตอบ

ตัวเลือกที่ 4
เพราะสารคลอโรฟลูออโรคาร์บอน หรือ CFC จะทำลายชั้นโอโซนในบรรยากาศ เนื่องจากอะตอมของคลอรีนที่หลุดออกจากโมเลกุลของ CFC เพียง 1 อะตอม สามารถก่อปฏิกิริยาลูกโซ่ทำลายโอโซนได้ถึง 100,000 โมเลกุล เมื่อชั้นโอโซนในบรรยากาศถูกทำลายรังสีอัลตราไวโอเลต สามารถทะลุผ่านมายังผิวโลกได้มากขึ้น จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ทำให้มีผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนังและต้อกระจกเพิ่มขึ้น
ดังนั้น การลดการใช้สารฟลูออโรคาร์บอน จะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยโรคมะเร็งผิวหนังได้